วันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น. การประชุมระดมความคิดเห็นในรูปแบบสนทนากลุ่ม (Focus Group) เกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก) โดย ผู้เชี่ยวชาญพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. พร้อมคณะผู้บริหารจาก สป.อว.
ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงษ์ ใจวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม และคุณกานต์กุญช์ บำรุงชาติ หัวหน้าส่วนบริหารงานวิจัย เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเข้าร่วมรับฟัง พร้อมกับคณะผู้บริหารจากตัวแทนสถาบันการศึกษา
ความคาดหวังต่อผลลัพธ์กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research)
วัตถุประสงค์
มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะระดับสากลตอบโจทย์ตลาดแรงงานระดับโลก สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมพื่อความเป็นเลิศทางความรู้เพื่อที่คนไทยจะได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคตเกิดอุตสาหกรรมใหม่ ตอบโจทย์และสนับสนุนความมั่นคงของประเทศ ยกระดับมหาวิทยลัยไทยไปสู่ความเป็น Global University มีผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา World University Rankings ที่สะท้อนถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยในสังคมโลกยุคปัจจุปัน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเพื่อให้ทัดเทียมนานาประเทศ
ความคาดหวังต่อผลลัพธ์
♦ มีองค์ความรู้ชั้นสูงจากการวิจัยที่สามารถต่อยอดไปสู่นวัตกรรมในอนาคต หรือเกิดนวัตกรรมที่มีความเป็นเลิศจากองค์ความรู้พื้นฐานตามความเข้มแข็งของมหวิทยาลัยเพื่อนำไปสู่การสร้างผลกระทบในวงกว้างและได้ผลประโยชน์มหาศาล (High risk, High return) สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างผลิกโฉมทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดอุตสหกรรมใหม่/อุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างน้อย 20 อุตสาหกรรม ใน 5 ปี
♦ ยกระดับมหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็น Global University จกผลงานวิจัยในสาขาที่เป็นความเข้มเข็ง หรือทั้งภาพรวมของมหาวิทยาลัยอย่างก้าวกระโดดภายใน 5 ปี หรือ มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ 201-400 ของโลกในการจัดอันดับ โดย THE University Impact อย่างน้อย 5 มหาวิทยาลัย ใน 5 ปี
♦ สร้างบัณฑิตที่มีทักษะสูงในระดับสากล ตอบโจทย์ตลาดแรงงานระดับโลก (Global Employability) ไม่น้อยกว่า 10,000 คน ใน 5 ปี
♦ สร้างและพัฒนานักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ มีดัชนีการอ้างอิงถ่วงน้ำหนัก (Field weight Citation) 1.2 และ
H-index เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5
♦ สร้างโอกาสให้นักวิจัยในประเทศได้ทำงานวิจัยที่มีความเสี่ยงสูงและมีแนวคิดเพื่อความเป็นเลิศทางความรู้เพื่อที่คนไทยจะได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคต อย่างน้อย 10 เทคโนโลยี ใน 5 ปี