วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30-15.00 น.
สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ
“มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial university): กลไกใหม่เพื่อการต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคม”
โดยการบรรยายนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย และนวัตกรรม เป็นผู้บรรยาย และได้บรรยายผ่าน Facebook live : https://fb.watch/spnP9RYb7U/
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม >> Focus Group “การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial university)”
เวลา 15.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม MI210 ชั้น 2 อาคาร Innovation Park (M-Square)
โดยมีผู้เข้าร่วมที่สำคัญ ประกอบด้วย
- อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย และนวัตกรรม
- คุณกานต์กุญช์ บำรุงชาติ หัวหน้าส่วนบริหารงานวิจัย
- รองศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์ ดร.ธรากร มณีรัตน์ อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
- อาจารย์สิรินันท์ สุวรรณาภรณ์ อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- นางสาวจิราพร ไร่พุทธา ผู้แทนหัวหน้าส่วนสถาบันชาและกาแฟ แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกานต์ สร้อยกาบแก้วหัวหน้า ศูนย์วิจัยวัสดุนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (iMatS)/สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
- อาจารย์ ดร.นาตาชา มาศวิเชียร ผู้แทนหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อผู้ประกอบการและความยั่งยืน (SERC)/สำนักวิชาการจัดการ
- รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวภา ไชยวงศ์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยระบบนิเวศเชิงบูรณาการเกษตรและเทคโนโลยี (IATE)/สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
- อาจารย์ ดร.อาทิตยา ปาทาน หัวหน้ากลุ่มวิจัยด้านการท่องเที่ยว การบริการ การงานอีเว้นท์ (THE)/สำนักวิชาการจัดการ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิตา แจ่มยวง หัวหน้ากลุ่มวิจัยผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์และนวัตกรรม (MP&I)/สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
- นางสาวการะเกด นันทศรีนนท์ หัวหน้าฝ่ายสร้างความตระหนักในการเป็นผู้ประกอบการ
- นางสาวสิรินาฏ เทียนทอง รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
- นายชนม์ แสนใจกล้า รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม และ
- นางสาวณริศรา กุนนากุล เจ้าหน้าที่บริหาร ส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม
โดยกิจกรรมดังกล่าวนี้ ได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ
2. เพื่อทราบความสําคัญของกิจกรรมของมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการเพื่อการพัฒนา
3. เพื่อเรียนรู้กลยุทธสำหรับปลูกฝังความคิดแบบผู้ประกอบการในวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย
4. เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ