23-24 ก.ค. 67 MFU Research Expo 2024 งานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับผลงาน “Thai and Chinese Society and Culture for the Improvement of Well-being” Chapter 5

หมวดหมู่ข่าว: rs-ข่าวประชาสัมพันธ์/งานวิจัยที่ได้รับรางวัล

#MFUResearchNews

#School_of_Sinology

Chapter 5

พบกับงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 23-24 กรกฎาคม 2567 กับผลงาน “Thai and Chinese Society and Culture for the Improvement of Well-being”

1. The Comparative Study of nine-tailed animals หัวหน้าโครงการ อ.ดร.อาภรณ์ ถิรกันต์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์หลักคือ: 1) ศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านข้ามวัฒนธรรมและการยอมรับในสังคม โดยใช้ทฤษฎีของกุหลาบ มัลลิกามาศและทฤษฎีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ประเมินคุณค่าของวรรณกรรมพื้นบ้านเกี่ยวกับสุนัขเก้าหางในไทยและสุนัขจิ้งจอกเก้าหางในจีน รวมถึงอิทธิพลที่มีต่อสังคมและความสัมพันธ์ไทย-จีน

การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเอกสาร รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน วิธีการวัดและประเมินผลเริ่มจากการเลือกวรรณกรรมเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ จากนั้นประเมินข้อมูลจากการสัมภาษณ์และนำเสนอผลในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัย: 1) การวิเคราะห์วรรณกรรมพื้นบ้านตามทฤษฎีของกุหลาบ มัลลิกามาศ พบว่ามีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างในโครงสร้าง เรื่องหลัก เวลาและสถานที่ ตัวละคร บทสนทนา วิธีการเล่าเรื่อง จังหวะ และสไตล์การเขียน แต่ทุกเรื่องยังคงลักษณะเฉพาะของตนเอง 2) ผลการเปรียบเทียบและการประเมินวรรณกรรมพื้นบ้านจากมุมมองการยอมรับทางวัฒนธรรม พบว่าสังคมยอมรับลักษณะของสุนัขเก้าหางและสุนัขจิ้งจอกเก้าหางว่าเป็นมิตรและช่วยเหลือมนุษย์ และลักษณะที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ไม่ได้รับการยอมรับ

 2. A study of manpower development strategy for Thai rail transport system: Case study of Thai-China Vocational Education Cooperation หัวหน้าโครงการ อ.แอนนี คำสร้อย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาที่มาและความสำคัญของความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย-จีน ในการผลิตและพัฒนากำลังคนระบบขนส่งทางรางไทย สถานการณ์ความร่วมมือในปัจจุบัน วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมความร่วมมือที่ยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย-จีนในการผลิตและพัฒนากำลังคนระบบขนส่งทางรางไทยเป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพและตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น ขาดการวางแผนในระยะยาว ปัญหาด้านการประสานงาน เป็นต้น จึงควรมีแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้เกิดความยั่งยืน อันได้แก่ การใช้พื้นฐานความร่วมมืออันดีระหว่างประเทศไทย-จีนในการดำเนินความร่วมมือผลิตและพัฒนากำลังคนระบบขนส่งทางรางที่ตอบโจทย์ตลาดงานทั้งในและต่างประเทศอย่างตรงจุด การประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อสร้างโอกาสการได้งานทำและการเพิ่มรายได้ จูงใจให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการพัฒนาทักษะทางด้านภาษา เป็นต้น

 3. Guidelines preserve beliefs and rituals of Mien ethnic in Thailand: SWOT Analysis หัวหน้าโครงการ อ.เอกชัย ทวีปวรชัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางอนุรักษ์พิธีกรรมทางความเชื่อของชาติพันธุ์เมี่ยนในประเทศไทยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์สวอต โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยชาติพันธุ์เมี่ยนทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสังเกตกิจกรรมทางวัฒนธรรม ผู้จัดคือหน่วยงานอิ้วเมี่ยนในประเทศไทย และชาวเมี่ยนผลการศึกษาพบว่า จุดแข็ง(S)คือชาติพันธุ์เมี่ยนในประเทศไทยให้ความสําคัญกับพิธีกรรมทางความเชื่อของตน มีหน่วยงานอนุรักษ์วัฒนธรรมอิ้วเมี่ยนจุดอ่อน(W)คือขาดระบบการสืบทอด การอ่านตําราประกอบพิธีกรรมไม่ได้ รวมทั้งชาวเมี่ยนรุ่นหลังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรม ส่วนโอกาส (O) คือชาวเมี่ยนในต่างประเทศมีการประกอบพิธีกรรมที่คล้ายกัน ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันซึ่งจะช่วยให้ชาวเมี่ยนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น ในด้านอุปสรรค (T) คือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน และปัจจัยทางเศรษฐกิจ อันจะเป็นข้อจํากัดต่อการอนุรักษ์พิธีกรรม ซึ่งแนวทางอนุรักษ์จากผลการศึกษาครั้งนี้เชิงรุกคือ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอิ้วเมี่ยนในต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และร่วมกันสืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีชาติพันธุ์เมี่ยน เชิงแก้ไขคือ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านความเชื่อและพิธีกรรมผ่านระบบออนไลน์ เชิงรับคือ ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาภาษาเมี่ยนควรตั้งกลุ่มฝึกอบรมด้านความเชื่อพิธีกรรมและเชิงป้องกันคือผลิตสื่อความรู้ด้านความเชื่อและพิธีกรรม

……..

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้:

  • เพื่อนำนวัตกรรมสำนักวิชาขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ผลกระทบความเป็นอยู่ที่ดีและอนาคตที่ยั่งยืน
  • เพื่อส่งเสริมการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างสำนักวิชาหรือต่างสาขาวิชา
  • เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และยกย่องเชิดชูเกียรติงานวิจัยที่มีคุณค่า

ภายในงานจะมีกิจกรรมดังนี้:

  1. กิจกรรมประกวดนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมจาก 15 สำนักวิชา พร้อมการแลกเปลี่ยนการทำงานแบบบูรณาการ
  2. กิจกรรมเสวนา "การถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานวิจัยในเชิงพื้นที่สู่สังคมแห่งความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืน"
  3. กิจกรรมเสวนาห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก. 2677-2558) จัดกิจกรรมโดยศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. กิจกรรมเสวนา "ทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในมิติ GMS"
  5. กิจกรรมมอบรางวัลผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ 3 สาขาวิชา (รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)

กิจกรรมจะจัดขึ้น ณ ห้องคำมอกหลวง และลานชั้น 5 อาคาร M-SQUARE มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

School of Sinology - สำนักจีนวิทยา : Mae Fah Luang University

 

  • 337 ครั้ง
  • #ส่วนบริการงานวิจัย