Chapter 8
พบกับงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 23-24 กรกฎาคม 2567 กับแนวคิด “นวัตกรรมการพยาบาลสู่การสร้างความเป็นอยู่ที่ดี” ประกอบด้วยผลงานดังนี้
1. จี-อีเอ็มเอสเช็ก และฮิลล์แคร์: การเข้าถึงบริการสุขภาพผ่านนวัตกรรมสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (G-EMSheg and HillCare: Advancing access to healthcare services through GIS innovation) หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.บุญญาภัทร ชาติพัฒนานันท์ และคณะ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยต่อยอดจากระยะที่ 1 สู่ระยะที่ 2 และ 3 จาก CEHR MFU โดยวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บนเขาสูงในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น ความหลากหลายด้านภาษา การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตที่ไม่เสถียร ได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพทั้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและการเยี่ยมบ้านได้อย่างทั่วถึงและสะดวก และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สุขภาพปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการตอบสนองต่อหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่บูรณาการนำดิจิทัลมาใช้ในการเสริมสร้างระบบสุขภาพ
การทำงานของ G-EMSheg and HillCare มีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกัน โดย G-EMSheg เป็น Web-based Application ที่มีคุณสมบัติ สำคัญคือ สืบค้นข้อมูลตำแหน่งบ้าน สถานที่คำบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ภาษาชนชาติพันธุ์เรียกและเข้าใจกันในท้องถิ่นนั้น แสดงรายละเอียดข้อมูลทั่วไปและการเจ็บป่วยของเจ้าบ้าน ค้นหาตำแหน่ง คำนวนและแสดงเส้นทางของรถพยาบาล โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด คำนวนและแสดงเส้นทางจากตำแหน่งศูนย์สั่งการ ไปยังตำแหน่งผู้ป่วยที่แจ้งเหตุ แสดงผลหน้าจอกับอุปกรณ์หลายชนิด และมีระบบรักษาความปลอดภัยและนำไปใช้จริง ณ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (1669) เป็นประโยชน์แก่ประชาชนหลายหมื่นราย ใน ต.แม่สลองนอกและแม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
สำหรับ HillCare แปลว่า การดูแลบนเนินเขา เป็นโครงการวิจัยขยายผลไปสู่การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน สามารถแสดงข้อมูลผู้ป่วย ประวัติการเยี่ยม การรักษา การรับยา ครอบคลุมผู้ที่ต้องได้รับการเยี่ยมบ้านและได้รับการจัดการรายกรณี ใน 4 กลุ่ม คือ มารดาหลังคลอดและทารก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่คุมอาการไม่ได้ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง) ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยจิตเวช (ซึมเศร้า และติดสารเสพติด) บริหารจัดการตารางการนัดหมายเยี่ยมบ้าน และแสดงตารางการนัดหมาย โดยบุคลากรทางการแพทย์ เก็บข้อมูลการประเมินและสรุปผลผลการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย ประเมินอาการผู้ป่วยได้รายกรณีตามแบบประเมินต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับโรคซึ่งระบบจะคำนวณและแปลผลคะแนนให้อัตโนมัติ ที่สำคัญ HillCare มีระบบการเยี่ยมบ้านแบบ Offline ใช้งานได้ในพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต และสามารถอัพเดทข้อมูลได้เมื่อมีสัญญาณอินเตอร์เน็ต และอำนวยความสะดวกของประชาชนและเจ้าหน้าที่สุขภาพด้วยการมี LINE Official Account (LINE OA) สำหรับการเยี่ยมบ้าน มีวีดิโอการปฐมพยาบาลและวิธีการดูแลตนเองเบื้องต้น จำนวน 5 วีดิโอทั้งภาษาไทยและภาษาอาข่า ระบุพิกัดบ้านผู้ป่วยได้โดยระบบเชื่อมต่อกับระบบ G-EMSheg
2. Development and Evaluation of fit2work software for Local Administrative Organization to seek for elderly job opportunity at the local level หัวหน้าโครงการ ผศ.นงเยาว์ มงคลอิทธิเวช และคณะ การวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและประเมินซอฟต์แวร์ fit2work ที่ออกแบบมาเพื่อให้กับหน่วยงานท้องถิ่นในการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพและความสามารถในการทำงาน (Work Ability Index: WAI) -ของผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมโอกาสในการทำงานที่อย่างหลายเพิ่มมากขึ้น
วิธีการ: กระบวนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วยการสร้างซอฟต์แวร์ fit2work โดยได้รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ (43 แฟ้ม) ร่วมกับข้อมูลการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและสภาพการทำงานจากผู้สูงอายุที่เป็นผู้เข้าร่วมการวิจัย นักวิจัยที่มีความร่วมมือทางวิชาการได้ดำเนินการวิเคราะห์และพัฒนาโมเดลอัลกอริธึมที่ใช้ทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำงาน Work Ability Index (WAI) และระดับความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความต้องการในการทำงาน จำนวน 1,245 คน จากพื้นที่ 4 ภาค 4 จังหวัดของประเทศไทย
ผลการวิจัย: ซอฟต์แวร์ fit2work มีความแม่นยำที่สูงถึง 76.6% ในการทำนายความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุ การระบุปัจจัยทำนายที่สำคัญ 10 ปัจจัยที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการการตัดสินใจทำงานและระดับความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุประกอบด้วย (A) อายุ: ความสามารถในการทำงานยังคงสูงในช่วงอายุ 60-70 ปี แต่ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากอายุ 70 ปี (B) สุขภาพ: สุขภาพและความสามารถในการทำงานมีความสัมพันธ์บวกอย่างมาก (C)ภาวะสุขภาพ: ปัจจัยทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น จำนวนโรคทั้งหมด ปัญหาการทำงานทางร่างกาย ความเจ็บปวด การเสื่อมสมอง ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และจำนวนโรคที่ไม่ติดต่อได้ (NCDs) มีผลเสียต่อความสามารถในการทำงาน (D) เพศ: ชายมีระดับความสามารถในการทำงานสูงกว่าหญิง
การอภิปราย: จากผลการวิจัยพบว่ามีข้อเสนอแนะนโยบายหลายประการ เช่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ใช้ ซอฟแวร์ fit2work วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงข้อมูลเกี่ยวกับสถานะสุขภาพและความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุ และนำข้อมูลไปในการวางแผนยุทธศาสตร์บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ สอดคล้องกับภาวะสุขภาพและความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบอย่างแท้จริง
……..
MFU Research Expo มีวัตถุประสงค์ดังนี้:
ภายในงานจะมีกิจกรรมดังนี้:
กิจกรรมจะจัดขึ้น ณ ห้องคำมอกหลวง และลานชั้น 5 อาคาร M-SQUARE มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง