23-24 ก.ค. 67 MFU Research Expo 2024 งานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับผลงาน “สร้างความเป็นอยู่ที่ดีด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ” Chapter 9

หมวดหมู่ข่าว: rs-ข่าวประชาสัมพันธ์/งานวิจัยที่ได้รับรางวัล

 #MFUResearchNews

#School_of_Information_Technology

Chapter 9

พบกับงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 23-24 กรกฎาคม 2567 กับแนวคิด “สร้างความเป็นอยู่ที่ดีด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ” ประกอบด้วยผลงานดังนี้

 1. ศูนย์ฝึกอบรมกำลังคนด้านโลจิสติกส์อัจฉริยะโดยใช้ Mixed Reality Simulation เพื่อรองรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของ เพื่อเชื่อมโยง GMS โดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.สันติชัย วิชา และคณะ เส้นทาง R3A เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเส้นทางเศรษฐกิจใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเชื่อมโยงระหว่างประเทศในแถบนั้น ได้แก่ จีน ลาว พม่า ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ทั้งนี้เส้นทาง R3A โดยเฉพาะ เชื่อมต่อระหว่าง คุนหมิง (ในจีน) ผ่านลาว และลงมายังเชียงของ ในประเทศไทย ด้วยระยะทางประมาณ 1,240 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สำคัญต่อทั้งภาคการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าการเกษตร และภาคการท่องเที่ยว ทางภาคเหนือของไทยให้เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายการจัดส่งสินค้า (Logistics Network) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่ผ่านภูมิประเทศแบบภูเขาสูง มีความคดเคี้ยวมากโดยมีจำนวนโค้งมากถึง 3800 โค้งและมีรถบรรทุกสินค้าประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง รัฐบาลจึงมีการตั้งโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของสร้างขึ้นเพื่อรองรับและสนับสนุนการส่งออกและการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งในเส้นทาง R3A ซึ่งจะเป็นศูนย์รวบรวมการกระจายสินค้าตู้คอนเทนเอร์หรือสินค้าบรรจุหีบห่อ (Break-Bulk Cargoes) ให้สามารถดำเนินพิธีการที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกได้ในจุดเดียว (One Stop Service) และลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากผู้ประกอบการขนส่งของไทยไม่จำเป็นต้องเข้าไปขนส่งสินค้าในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจากความต้องการข้างต้น ศูนย์มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาหรือพัฒนากำลังคนที่สามารถทำงานรองรับกับศูนย์เปลี่ยนถ่ายฯ ที่สามารถทำงานกับเครื่องมือหรือระบบเพื่อการจัดการการเปลี่ยนถ่ายสินค้า การขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงกำลังคนที่มีความเข้าใจความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีในการขนย้าย เป็นจำนวนมาก ซึ่งกำลังคนหลักและทักษะที่จำเป็นต่อศูนย์คือ การพัฒนากำลังคนที่คลอบคลุมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ทั้งด้าน การดูแลคลังสินค้า (Warehouse Operator) ผู้จัดส่ง (Shipment Dispatcher) คนขับรถบรรทุก (Truck Driver) เจ้าของธุรกิจนำเข้า/ส่งออก (Import/Export Business Owner) รวมถึง หัวหน้างานคลังสินค้า (Warehouse/ DC Supervisor) เป็นต้น ทางโครงการจึงมีการออกแบบหลักสูตรการอบรมกำลังคนด้านโลจิสติกส์อัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่คุณค่าและโลจิสติกส์โดยใช้ Mixed Reality Simulation พร้อมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์ม Simulation และ Web Application สำหรับรองรับการอบรมด้านโลจิสติกส์อัจฉริยะโดยใช้ Mixed Reality ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในเขตพื้นที่ โดยหลักสูตรคลอบคลุมการพัฒนากำลังคนที่สามารถทำงานรองรับกับศูนย์เปลี่ยนถ่ายฯในอนาคตโดยพัฒนาระบบจากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเพื่อเห็นถึงปัญหาและความจำเป็นในการพัฒนาฝีมือ และทักษะเพื่อให้ได้แรงงานที่มีคุณภาพ ในระยะเวลาที่จำกัด และโอกาสในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยพัฒนาหลักสูตร สำหรับฝึก ทักษะ และกำลังคน โดยอาศัยเทคโนโลยีภาพเสมือน เข้ามาช่วยในการฝึกอบรม ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้เข้าอบรม ทั้งในส่วนของแรงงาน และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องรองรับการขยายกำลังคนทางด้านโลจิสติกส์ และมีความปลอดภัย มากกว่าการฝึกแบบเดิม ซึ่งสามารถใช้ในการอบรมได้ทั้งรูปแบบออนไลน์และในสถานที่จริง นอกจากนี้ผลที่ได้ ยังมีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนา ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และแผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้าน Digital Manpower ในการส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษา ตลอดช่วงอายุ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการกำหนดนโยบายพัฒนา บุคลากรของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งตรงตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 – 2580) ในยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รวมถึงตรงตามแผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (พ.ศ. 2561 - 2565) ในยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากำลังคนสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมทักษะกำลังคนและพัฒนาประเทศต่อไปได้

 2. อุปกรณ์ตรวจวัดความเสี่ยงในการล้ม ภายใต้โครงการ Erasmus+ DigiHealth-Asia หัวหน้าโครงการ ผศ. ดร.วรศักดิ์ เรืองศิรรักษ์และคณะ การวัดประเมินความเสี่ยงในการหกล้มเป็นวิธีการที่สามารถปฏิบัติได้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพในการประเมินความสามารถในการทรงตัวในมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโคลงเคลง เสียการทรงตัว ซึ่งการเสียสมดุลในการทรงตัวนั้นจะเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงต่อผู้สูงอายุได้

ในทางการแพทย์บูรณาการและกายภาพบำบัด เครื่องมือวัดประเมินแบบ Short Physical Performance Battery (SPPB) ได้ถูกนำมาใช้เป็นกระบวนมาตรฐานในการตรวจวัดสมรรถนะร่างกายของมนุษย์เพื่อตรวจวัดการทรงตัว โดยมีขั้นตอนการตรวจวัดอยู่ 3 ขั้นตอน ตามลำดับดังนี้ 1) ประเมินการยืน การทรงตัว ในท่าลุกนั่ง, 2) ประเมินการทรงตัว ในท่ายืนนิ่ง, และ 3) การวัดความเร็วในการเดินทางราบ ซึ่งแม้ว่ากระบวนการวัดจะสามารถปฏิบัติได้ง่าย แต่ยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเป็นจำนวนมากในการควบคุมกระบวนการวัดและมีโอกาสในการเกิดความผิดพลาดในการวัดประเมิน

ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้เสนออุปกรณ์ IoT อัจฉริยะในการตรวจวัดและประเมินการทรงตัวได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และ ง่ายต่อการติดตั้งและใช้งานในชุมชนต่าง ๆ

 3. ระบบโลกเสมือน จำลองสถานการณ์ภัยพิบัติ และการเอาตัวรอดของมุษย์ หัวหน้าโครงการ อ.ดร. เขมชาติ เขมาวุฒานนท์ และคณะ ภัยพิบัติทางธรรมชาติก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม ผู้คนจำนวนมาก เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลายๆประเทศ อาทิเล่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีแผ่นดินไหว เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา จึงมีภัยพิบัติใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือแม้กระทั้งประเทศไทยที่มีหมอกควัญภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม หลายๆประเทศนั้นมีการรับมือที่ดีเช่นประเทศญี่ปุ่นที่เป็นประเทศที่มีการเตรียมความพร้อมอย่างดีสำหรับภัยพิบัติทางธรรมชาติเหล่านี้ แต่สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่รู้จักภาษาญี่ปุ่นและประเทศที่ไม่มีภัยพิบัติทางธรรมชาติและไม่ทราบถึงความน่ากลัวของภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น จำเป็นต้องเรียนรู้จากการจำลองภัยพิบัติทางธรรมชาติ ระบบผ่าน VR จากนั้นในการศึกษาครั้งนี้ ระบบจำลองภัยพิบัติทางธรรมชาติผ่าน VR จะมีกิจกรรมต่างๆ จำลองการเรียนรู้และการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในทุกทางเลือก และการกระทำนั้นจะถูกบันทึกเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมต่างๆ เพื่อให้ชาวต่างชาติอย่างเช่นคนไทยที่จะไปอาศัยในประเทศที่มีภัยพิบัติ สามารถรับมือกับภัยพิบัติได้ และลดการสูญเสียทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ

……..

 MFU Research Expo มีวัตถุประสงค์ดังนี้:

  • เพื่อนำนวัตกรรมสำนักวิชาขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ผลกระทบความเป็นอยู่ที่ดีและอนาคตที่ยั่งยืน
  • เพื่อส่งเสริมการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างสำนักวิชาหรือต่างสาขาวิชา
  • เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และยกย่องเชิดชูเกียรติงานวิจัยที่มีคุณค่า

ภายในงานจะมีกิจกรรมดังนี้:

  1. กิจกรรมประกวดนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมจาก 15 สำนักวิชา พร้อมการแลกเปลี่ยนการทำงานแบบบูรณาการ
  2. กิจกรรมเสวนา "การถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานวิจัยในเชิงพื้นที่สู่สังคมแห่งความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืน"
  3. กิจกรรมเสวนาห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก. 2677-2558) จัดกิจกรรมโดย ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. กิจกรรมเสวนา "ทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในมิติ GMS" กิจกรรมมอบรางวัลผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ 3 สาขาวิชา (รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)

กิจกรรมจะจัดขึ้น ณ ห้องคำมอกหลวง และลานชั้น 5 อาคาร M-SQUARE มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

School of Information Technology | MFU

  • 384 ครั้ง
  • #ส่วนบริการงานวิจัย