23-24 ก.ค. 67 MFU Research Expo 2024 งานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับผลงาน “วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางสู่การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและอนาคตที่ยั่งยืน” Chapter 11

หมวดหมู่ข่าว: rs-ข่าวประชาสัมพันธ์/งานวิจัยที่ได้รับรางวัล

#MFUResearchNews

#School_of_Cosmetic_Science

Chapter 11

พบกับงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 23-24 กรกฎาคม 2567 กับแนวคิด “วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางสู่การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและอนาคตที่ยั่งยืน” ประกอบด้วยผลงานดังนี้

1. Research and development of cosmetics and health supplements containing natural extracts by using nanotechnology หัวหน้าโครงการ รศ.ดร.วันดี รังสีวิจิตรประภา และคณะ การนำสารจากธรรมชาติหรือสมุนไพรในท้องถิ่นมาสกัดและกักเก็บในอนุภาคนาโน ได้แก่ นีโอโซม อนุภาคนาโนไขมันแข็ง และ nanostructure lipid carrier เพื่อเพิ่มความคงตัวและการนำส่งลงสู่ผิวหนังในชั้นที่ลึกขึ้น และศึกษาคุณสมบัติต่างๆ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ เพื่อลดริ้วรอย ลดการเกิดเซลลูไลท์ กระตุ้นการงอกของเส้นผม จากนั้นมีการศึกษาความคงตัว การทดสอบประสิทธิภาพ และการระคายเคืองในสัตว์ทดลองและในอาสาสมัคร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น มีศักยภาพในการเป็นเครื่องสำอาง หรืออาหารเสริมเพื่อออกสู่เชิงพาณิชย์ได้

 2. Reseach to Commercialization: Health benefit of Sang-Yod red pigmented rice extract from Thailand for hair growth promotion and prevention of hair loss หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร. ณัตฐาวุฒิ ฐิติปราโมทย์ และคณะ ข้าวสังข์หยด (SY) เป็นข้าวมีสีแดงพื้นเมืองของไทย มีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเส้นมผมและป้องกันผมร่วง โดยแสดงความมีศักยภาพสูงในการยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase และ กระตุ้นการเจริญของเซลล์ human matrix cell และ keratinocyte รวมทั้งกระตุ้นการเจริญของเส้นผมในหนู C3H ที่ใช้เป็นโมเดลในการศึกษาเรื่องการเจริญผม สารสกัดข้าวสังข์หยดสีแดง ยังมีความปลอดภัยโดยไม่เกิดความเป็นพิษในเซลล์หรือการระคายเคือง

การวิจัยนี้แสดงให้เห็นประโยชน์ทางสุขภาพและความปลอดภัยของสารสกัดข้าวสังข์หยด ในกระตุ้นการเจริญผม และมีศักยภาพในการใช้เป็นสารกระตุ้นการเจริญผมธรรมชาติและยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase

ดังนั้น ข้าวสังข์หยด SY เป็นวัตถุดิบที่ปลอดภัยและสารธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ในเครื่องสำอาง อาหารเสริม และอาหารสุขภาพ

นอกจากนี้การวิจัยนี้เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนแนวทางภูมิปัญญาไทยในการนำข้าวและนำ้ชาวข้าวมาบำรุงรักษาเส้นผมที่มีมาตั้งแต่อดีต

 3. Polyol-based extraction: A sustainable approach for cosmetic and tropical product bioactive ingredient extraction from the native Chiang Rai plants หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร. นันทวัชร เขตอุดมคีรี และคณะ ตัวทำละลายอินทรีย์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเภสัชกรรมมาหลายทศวรรษเพื่อสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เหตุผลหลักที่ทำให้ตัวทำละลายเหล่านี้เป็นที่นิยมคือความสะดวกในใช้งานและต้นทุนในการผลิตสารสกัด อย่างไรก็ตาม การสกัดสารด้วยตัวทำละลายอินทรีย์มีจำเป็นต้องกำจัดตัวทำละลายเหล่านี้ออกจากสารสกัดก่อนนำมาผสมเข้ากับสูตรเครื่องสำอางเนื่องจากตัวทำละลายดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดพิษต่อผิวหนัง โดยวิธีการกำจัดตัวทำละลายอินทรีย์ออกจากสารสกัดนั้นทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้น อีกทั้งต้องใช้เวลานานและใช้พลังงานเป็นจำนวนมากระหว่างการผลิต เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้ ผู้วิจัยจึงมีการศึกษาการใช้โพลิออลเป็นตัวทำละลายทดแทนในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาผลของการใช้โพลิออลในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดต่างๆ จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและพืชท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย เช่น เปลือกกาแฟ ดอกชา Camellia sinensis ใบ Rhus chinensis Mill. และใบ Canthium horridum Blume สารสกัดที่ได้จากโพลิออลยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่าทั้งในการทดสอบในหลอดทดลองและกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระในระดับเซลล์ เมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดที่ได้จากเอทานอล อีกทั้งสารสกัดที่ได้จากโพลิออลยังมีความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวต่ำกว่าสารสกัดที่ได้จากเอทานอล นอกจากนี้การใช้โพลิออลร่วมกับเทคนิคการสกัดสมัยใหม่ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดได้ ดังนั้น การสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยโพลิออลจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีเหมาะสมในขยายขนาดการผลิตในระดับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเภสัชกรรมต่อไป

……..

 MFU Research Expo มีวัตถุประสงค์ดังนี้:

  1. เพื่อนำนวัตกรรมสำนักวิชาขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ผลกระทบความเป็นอยู่ที่ดีและอนาคตที่ยั่งยืน
  2. เพื่อส่งเสริมการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างสำนักวิชาหรือต่างสาขาวิชา
  3. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และยกย่องเชิดชูเกียรติงานวิจัยที่มีคุณค่า

ภายในงานจะมีกิจกรรมดังนี้:

  • กิจกรรมประกวดนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมจาก 15 สำนักวิชา พร้อมการแลกเปลี่ยนการทำงานแบบบูรณาการ
  • กิจกรรมเสวนา "การถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานวิจัยในเชิงพื้นที่สู่สังคมแห่งความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืน"
  • กิจกรรมเสวนาห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก. 2677-2558) จัดกิจกรรมโดย ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กิจกรรมเสวนา "ทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในมิติ GMS" กิจกรรมมอบรางวัลผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ 3 สาขาวิชา(รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)

กิจกรรมจะจัดขึ้น ณ ห้องคำมอกหลวง และลานชั้น 5 อาคาร M-SQUARE มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Cosmetic Science, Mae Fah Luang University

  • 404 ครั้ง
  • #ส่วนบริการงานวิจัย