ฟื้นเมืองเชียงรายในมุมมองรศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง

หมวดหมู่ข่าว: rs-ข่าวประชาสัมพันธ์/งานวิจัยที่ได้รับรางวัล

ฟื้นเมืองเชียงรายในมุมมองรศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง

------->>>>

ขณะที่เชียงรายกำลังอยู่ในช่วงของการทำความสะอาดเมือง แต่แน่ละ กระแสน้ำมันไม่พัดทั้งดินทั้งโคลนเข้ามาถล่มเมืองเชียงราย มันยังพัดพาความมั่นคงของชีวิต และอนาคตของคนเขียงรายไปด้วย ทั้งระดับครัวเรือน ธุรกิจรายย่อยทั้งขนาดกลาง ถึงขนาดเล็ก

ด้วยเหตุนี้ Research café จึงชักชวน รศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในฐานะอดีตคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์เชียงรายจนกระทั่งนำไปปสู่การยกย่องจากองค์กรยูเนสโก้ให้เป็น creative city เป็นศูนย์รวมของเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งแม้ที่บ้านอาจารย์จะไม่โดนน้ำท่วม แต่ภารกิจครูบาอาจารย์ตลอดจนภารกิจของมหาวิทยาลัยรับใช้สังคมการช่วยเหลือชุมชนจึงต้องมาเป็นอันดับแรก แต่ภารกิจใหญ่ที่รออยู่ข้างหน้าคือการ “รีโนเวทเมือง”

..

มุมมองของอาจารย์ต่อการพัฒนาเมืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ = ฟื้นเมือง ฟื้นใจ ฟื้นทำกิน ฟื้นการลงทุน

.

ระยะที่ 1 “ฟื้นเมือง”

ตอนนี้เชียงรายจะมีคำถามว่าเราฟื้นเมืองยังไง เราจะทำกันยังไง เพราะว่า สิ้นเนื้อประดาตัวกันไปหลายคน กลุ่มของการค้ารายย่อย แย่มากบ้านก็ต้องซ่อมทำความสะอาด เอาเงินไปลงทุนใหม่ที่ธุรกิจเสียหาย ไหนจะค้าขายอีก จะทำยังไง แต่รายใหญ่ก็ยังลำบาก

“เมื่อวานคุยกับนักธุรกิจหลายท่าน คือการที่จะกลับมาทำมาหากินได้ยังไง คือเงินไม่มีแล้ว ต้องนำเงินไปซ่อมบ้าน นึกภาพไม่ออกเลย คือไม่รู้จะต้องซ่อมอะไรก่อน เงินจะกินก็ยังไม่มี บ้านก็พัง เงินเยียวยาจะมาทางไหน จะมาเมื่อไหร่ก็ยังไม่รู้ คือคำว่ามาเมื่อไหร่ไม่รู้ คือนานมากนะครับ

“เพราะฉะนั้น ผมคิดว่ามันต้องมีเงินเข้ามาเพื่อเป็นเครดิตอะไรก็ได้นะครับ โดยทางเราเชียงรายควรมีการตั้งทีมเฉพาะกิจ เป็นตัวแทนของคนเชียงรายที่มาจากหลายๆ ภาคส่วนรัฐ เอกชน วิชาการ สำรวจความเสียหายโดยเฉพาะกับธุรกิจรายย่อยที่จะเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน ให้พวกเขาได้มีกองทุนเพื่อนำมาสานต่อธุรกิจ”

“ตอนนี้ภาคประชาชนช่วยทำงานกัน ทุกวันนี้จะมีคนไปช่วยกันทำความสะอาดบ้านในแต่ละหลัง ช่วยกันเปลี่ยน พูดตามตรงในแต่ละบ้าน ชาวบ้านช่วยกันเอง ขนของเอาไว้ข้างนอกบ้าน เทศบาลก็จะมาขนขยะออกไป แต่ทีนี้โคลนต่างๆ ก็ต้องดันออกมา เทศบาลก็ต้องมารีบขนแล้วก็เอาออกไปให้เร็วที่สุด ตอนนี้กลุ่มจิตอาสาในจังหวัดเชียงรายถือว่าดีมาก รวมทั้งหน่วยงานภาคประชาสังคมก็ช่วยได้ดีมาก

ผมคิดว่าเราอาจจะต้องจัดทำแผนการฟื้นฟูเมือง ถ้าจะให้การท่องเที่ยวเกิดขึ้นในเดือนตุลาเป็นต้นไป ต้องเปิดเทศกาลท่องเที่ยวในเชียงราย ช่วงปลาย ๆ ตุลาคม

.

.

ระยะที่ 2 “ฟื้นใจ”

เพราะใจมันหายไป มันว้าเหว่มาก คือทุกคนอาจจะคิดว่าฉันไหว แต่ในใจลึก ๆ จริง ๆ เขาไม่ไหว บางทีอาจจะต้องมีกระบวนการจิตวิทยาชุมชน ไปร่วมทำกระบวนการกลุ่มพูดคุยกัน ให้เขาได้พูดและได้ระบาย อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วก็เรื่องการทำบุญก็เป็นสิ่งสำคัญ ด้วยวิกฤตการณ์แบบนี้ มันต้องมีการทำเพื่อช่วยกันฟื้นฟูจิตใจคน

อีกประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ “การทำบุญบ้านเมือง” ช่วงหลังโควิดเราว่าจะจัดกัน แต่ก็ไม่ได้จัด เพราะการทำบุญเมืองหรือฟื้นใจเมือง จะเป็นการให้กำลังใจชาวบ้านทุก ๆ คน คือการทำบุญเมืองขนาดใหญ่ ให้เชียงรายทำทั้งจังหวัดเลย

.

.

ระยะที่ 3 ฟื้นทำกิน

ผมคิดว่าน่าจะต้องการจัดตลาด เมืองสร้างสรรค์เชียงรายมีความรู้ที่จะสร้างตลาดย่อยที่เรียกว่าโครงการ “กาดก้อมสร้างเมือง” หมายถึงการสร้างตลาดขนาดเล็กกระจายตัวไปยังพื้นทีสร้างสรรค์ต่างๆในเชียงราย และต่างประเทศ โดยอย่างแรกคือการจัดตลาดภายใน คนในจังหวัดจับจ่ายใช้สอยกันเอง เมื่อมีการจัดตลาดคนก็จะเอาของไปขายได้ คือไม่ต้องไปทำที่บ้าน มาเจอกัน นักท่องเที่ยวก็สามารถที่จะซื้อได้

สำหรับผมคิดว่าการตลาดช่วยได้เยอะ แต่จะต้องจัดพื้นที่และสร้าง concept ให้เขา คนกลุ่มนี้ต้องไปเที่ยวตลาดตามแบบที่ตนเองสนใจ และอีกแบบหนึ่งคือตลาดภายนอกจังหวัดที่ต้องนำของจากเชียงรายไปเปิดตลาดทั้งที่ กรุงเทพมหานคร ละต่างประเทศ สำหรับต่องประเทศนี้เราจะเชื่อมกับเมืองที่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการ เป็นเมืองสร้างสรรค์มีข้อดีคือเรามีเพื่อนทั่วโลกที่จะช่วยเหลือแบ่งปันกัน

จริงๆเชียงรายจะมีเทศกาลขนาดใหญ่ 2 เทศกาล ของสิงปาร์ค ซึ่งจะมีเรื่องของฟาร์มเฟส ซึ่งไม่รู้ว่าเขาจะจัดอยู่หรือเปล่า ก็คิดว่าคงจะจัด ถ้านึกถึงหน่วยงานเอกชน ก็จะช่วยได้

อันที่สอง จัดงานดอกไม้หรืองานไม่ดอกไม้ประดับ เป็นการท่องเที่ยวภายใน และภายนอก ก็จะจัดทั้งอบจ. ทั้งเทศบาลนครเชียงราย ถือเป็นงานที่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างกระแสให้คนมาเที่ยวเมืองเชียงรายได้เยอะมาก ก็จะมีงานดอกไม้ 2 แห่ง ที่จัดกันเหลือมๆหน่อย ในช่วงปลายเดือนธันวาคม

.

.

ระยะที่ 4 ฟื้นการลงทุน

การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญของการฟื้นการลงทุน หรือว่าอะไรก็ว่าไป ให้มันเป็นไปตามวิถีปกติ หลังจากนี้มันก็จะกลายเป็นวิถีปกติแล้ว คนก็เริ่มจะมีกำลังใจ นักท่องเที่ยวก็ไปจับจ่ายใช้สอย มีเงินทองไหลเข้าไปการลงทุนก็เริ่มขึ้น

.

.

#TSRI #สกสว #สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #เคลื่อนไทยด้วยวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #ResearchCafe #น้ำท่วม #เชียงราย #ฟื้นฟู #การลงทุน #กาด

 

  • 586 ครั้ง
  • #ส่วนบริการงานวิจัย