วช.ประกาศรับข้อเสนอโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ด้านอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ปริญญาโท และปริญญาเอก ประจำปี 2568
เป้าหมาย
1) พัฒนาบุคลากรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไมโครอิเล็กทรอนิกส์ให้มีจำนวนมากขึ้นผ่านกระบวนการวิจัยและการทำงานร่วมกับภาคเอกชน
2) เสริมสร้างศักยภาพในการวิจัยและพัฒนา ให้สามารถสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ทันสมัยและแข่งขันได้ในตลาดโลก
3) สร้างระบบการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการพัฒนานักวิจัยในภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการวิจัยเชิงอุตสาหกรรม
ผลผลิต
1) นักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่เกิดจากการร่วมสร้างหรือพัฒนากับภาคอุตสาหกรรมและทำวิจัยในหัวข้อที่เป็นโจทย์จากภาคอุตสาหกรรม
2) ผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการใหม่/เทคโนโลยี/นวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไมโครอิเล็กทรอนิกส์
3) ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่เกิดจากโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
กรอบการวิจัยและนวัตกรรม
1) การออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Microelectronic) การวิจัยและพัฒนาในด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์เป็นการพัฒนาระบบวงจรขนาดเล็กสำหรับใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เช่น เซนเซอร์,ชิปประมวลผล, IoT, และอุปกรณ์ AI
2) กระบวนการผลิต (Fabrication) การผลิตเทคโนโลยีการผลิตในระดับนาโนเมตร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของชิ้นส่วนที่ผลิต
3) การบรรจุภัณฑ์และการทดสอบ (Package and Testing) การพัฒนาวิธีการบรรจุที่สามารถป้องกันการเสียหาย และกระบวนการทดสอบที่ครอบคลุมความทนทานของวงจรและการใช้งานในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
4) การออกแบบวงจรความหนาแน่นสูง (HDI Circuit Design) เป็นการวิจัยการออกแบบวงจรที่ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งจะช่วยให้สามารถบรรจุฟังก์ชันการทำงานในพื้นที่ขนาดเล็กและรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ที่ต้องการการประมวลผลอย่างรวดเร็วและการเชื่อมต่อที่ซับซ้อน เช่น โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก
การสมัคร
ผู้ประสงค์รับทุนสามารถมัครได้ตั้งแต่วันที่ 17 - 31 ตุลาคม 2567
ผ่าน https://forms.ele/wmuapXgmaK75JUcAA
เอกสารประกอบการรับสมัคร
1.1 บัตรประชาชนของนักศึกษา
1.2 เอกสารรับรองผลการศึกษา (transcript) ของนักศึกษา
1.3 เอกสารรับรองการเป็นนักศึกษา หรือ เอกสารยืนยันการผ่านการคัดเลือกให้เข้าเป็นนักศึกษา
1.4 ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ โดยพิจารณาจากคะแนน TOEFL, IELTS, CU-TEP, TU-GET หรือ ผลสอบภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยต้นสังกัด ย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี (นับถึงวันยื่นยื่นใบสมัคร) ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิการพิจารณาผลภาษาอังกฤษตามเห็นสมควร
1.5 เอกสารรับรองการเป็นที่ปรึกษาของโครงการ
โดยจัดส่งเอกสารประกอบการรับสมัครมายังไปรษณีย์อิเล็กหรอนิกส์ nanoindust@nrct.go.th ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 โดย วช. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาข้อมูลและเอกสาร หากภายหลังพบว่าข้อมูลที่แจ้งในระบบไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือไม่ครบถ้วนในกำหนดเวลา
2. ผู้สมัครจะต้องสอบวิชาความสามารถทั่วไปเชิงวิชาการ
3. เมื่อได้รับการพิจารณารับทุนสนับสนุนแล้วผู้สมัครจะต้องจัดทำข้อเสนอโครงการงการวิจัย พร้อม research framework 1 หน้า ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงงานวิจัยที่ทำโดยมี input, process outputput, outcomeและ impact ที่ชัดเจนโดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1 โครงการวิจัยที่เสนอขอรับทุนต้องเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ โดยเป็นโจทย์ที่มาจากภาคอุตสาหกรรม
3.2 กรณีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างจากหน่วยงานอื่น ให้แสดงรายละเอียดการสนับสนุนดังกล่าว โดยระบุงบประมาณในแต่ละรายการในข้อเสนอการวิจัย พร้อมทั้งแสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้น ๆ
3.3 โครงการสนับสนุนงประมาณในรูปแบบการสนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ผ่านกระบวนการวิจัยในหัวข้อที่เป็นโจทย์จากภาคอุตสาหกรรมที่เกิดจากการร่วมสร้างหรือพัฒนากับภาคอุตสาหกรรม
3.4 ข้อเสนอการวิจัยที่มีการต่อยอดจากงานวิจัยเดิม ต้องแสดงขอบเขตการดำเนินงานระหว่างงานเดิมและงานใหม่ และต้องมีหนังสือยินยอมจากหน่วยงานเจ้าของผลงานมาดำเนินการวิจัยต่อยอด
3.5 วช. ถือว่าข้อเสนอการวิจัยที่เสนอมานั้นผ่านความเห็นชอบจากภาคอุตสาหกรรม อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานต้นสังกัดของผู้รับทุน ระดับอธิการบดี อธิบดีหรือเทียบเท่าของภาครัฐหรือกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือเทียบเท่าของภาคเอกชนเรียบร้อยแล้ว หากมีการร้องเรียนเกี่ยวกับข้อเสนอการวิจัยดังกล่าว วช. ขอสงานสิทธิ์ในการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งข้อเสนอการจัยที่เสนอต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
3.6 หน่วยงานต้องรับรองข้อเสนอโครงการ และข้อมูลของอาจารย์ที่ปรึกษาว่ามีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามที่ วช. กำหนด และสามารถเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ได้จนจบการศึกษา หรือหน่วยงานสามารถดำเนินการจัดการให้มีที่ปรึกษาโครงการตามระเบียบของหน่วยงานจนจบการศึกษาตามข้อกำหนดสัญญา
3.7 วช. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกทุน หากผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือไม่เป็นไปตามที่ตกลงร่วมกับภาคอุตสาหกรรม หรือมีการปรับเปลี่ยนงานวิจัยโดยไม่ผ่านการเห็นชอบร่วมกัน โดยมีการประเมินเป็นรายปีโดย วช. และภาคอุตสาหกรรม
ประกาศผลการพิจารณา
วช.จะประกาศผลการพิจารณาผู้ได้รับทุน ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.nriis.go.th
สอบถามรายละเอียดการเสนอขอรับทุน
ข้อมูลด้านวิชาการ กลุ่มงานอุตสาหกรรม กองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-5791370 - 9 ต่อ 405
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ banthita.s@nrct.go.th, darinporn.j@nrct.go.th
ผู้รับผิดชอบทุนพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.)
นางสาวบัณฐิตา ศาลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
นางสาวดารินพร เจียมประดิษฐ์กุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
รายละเอียดเพิ่มเติม >> คลิก