ดีไซน์ยั่งยืน พลิกฟื้นชุมชน
R e d e s i g n C u l t u r e , R e v i v e C o m m u n i t y
................................................................
Design Community Project สถาบันศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชิญชมนิทรรศการผลงานนักออกแบบชุมชน เพื่อขับขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยแนวคิด Vernacular Design ชุมชนนักออกแบบบทั้ง 10 ชุมชน จากเมืองเก่าเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเมืองเก่าน่าน จังหวัดน่าน มาปล่อยของกลางกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 21 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC
.......................................................................
สินค้าชุมชนต้องได้รับการนิยามใหม่ เพราะสินค้านั้นจะต้องแสดงถึงวิธีคิดทางโลกทัศน์ ชีวทัศน์ และอุดมคติของชุมชน สร้างมาเพื่อแก้ปัญหาวิถีชีวิต บนฐานการผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอารยธรรมมนุษย์ มีรสนิยม มีสุนทรียศาสตร์
ผลิตภัณฑ์นั้นต้องเป็นสินค้าซึ่งผู้คนที่ได้ใช้ได้บริโภคแล้ว จะรู้สึกเหมือนระลึกชาติได้ ประหนึ่งว่าเคยใช้สินค้านั้นมาก่อน หรือเป็นประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกถึงความอบอุ่น เป็นรสมือ(ในกรณีที่เป็นอาหาร) และเทคโนโลยีทางปัญญาของมนุษย์ ที่ทำให้คนที่ห่อเหี่ยวในชีวิต เมื่อมาพบกับสินค้า หรืออาหารนี้แล้วรู้สึกอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
แม้ว่าสภาวะปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ชุมชนจะถูกลดทอนให้เป็นเพียง “ของที่ระลึกจากการท่องเที่ยว” หรือ “ประสบการณ์ของผู้บริโภค” แต่ในความจริงทางสังคม ผลิตภัณฑ์ชุมชนไม่เพียงแต่รักษาวิถีชีวิต และวัฒนธรรมเท่านั้น แต่คือวัตถุแห่งความทรงจำในการต่อสู้ วัตถุแห่งความสำเร็จที่งดงาม เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนมีพลัง เป็นพลังชีวิต เป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว เชื่อมคนกับสังคม และธรรมชาติ อย่างยั่งยืน