วช. และ ม.แม่ฟ้าหลวง ร่วมกับ มทร.ศรีวิชัย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity) ครั้งที่ 6”
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity) ครั้งที่ 6 โดยมี ดร.อัณณ์ณิชา โตกิจกล้าธวัฒน์ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการวิจัยและสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวต้อนรับ
นายกานต์กุญช์ บำรุงชาติ หัวหน้าโครงการและคณะจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมในระหว่างวันที่ 6-7 มีนาคม 2568 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง
การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ได้แก่ ดร.ฉายสุรีย์ ศุภวิไล ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.พักตร์พิมล อึ่งเจริญวิวัฒน์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผศ.ดร.พวงทิพย์ ภู่พงษ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ช่วยวิทยากรจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้แก่ รศ.ดร.พรศิลป์ สีเผือก
ผศ.ดร.นิอร จิรพงศธรกุล คณะเกษตรศาสตร์
และผศ.ดร.สายใจ แก้วอ่อน คณะอุตสาหกรรมเกษตร
โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมจาก 10 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช, โรงพยาบาลกระบี่ โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง
โรงพยาบาลละงู, โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, โรงพยาบาลมะนัง, บริษัทซีเฟรช อินดัสตรี จำกัด มหาชน, และบริษัท เอแอลเอส แลบอราทอรี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 60 ท่าน
การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาความรู้และทักษะในการดำเนินงานวิจัยอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตามหลักการความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปพัฒนางานวิจัยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามแนวทางปฏิบัติและข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
รวมถึงการตระหนักรู้ในเรื่องของการป้องกันอันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการวิจัยในอนาคต