มาทำความรู้จัก ศูนย์วิจัยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อประเทศไทยปลอดขยะ (CEWT)
ผลงานวิจัยที่โดดเด่น ประจำปีงบประมาณ 2567 ( Outstanding research work 2024 ) ของศูนย์วิจัยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อประเทศไทยปลอดขยะ (CEWT) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยมุ่งสร้างสรรค์งานวิจัยที่ไม่เพียงแค่เข้มแข็ง แต่ยังท้าทายเวทีระดับนานาชาติ ด้วยการสนับสนุนการรวมกลุ่มของนักวิจัย โดยมีนักวิจัยอาวุโสเป็นพี่เลี้ยงหรือหัวหน้าทีม
เพื่อผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณค่าและสามารถสร้างผลกระทบในเชิงสังคม
หรือพัฒนาอุตสาหกรรม
การรวมกลุ่มนี้ถูกแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ หน่วยวิจัย, กลุ่มวิจัย และศูนย์วิจัย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ศูนย์วิจัยมุ่งพัฒนา แนวทางการนำเศษวัสดุกลับมาใช้ใหม่ โดยทำงานร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อน นโยบายประเทศไทยปลอดขยะ (Zero Waste) ร่วมกับ อปท. และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อมุ่งสู่ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และสร้าง ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับสถาบันวิจัยและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับความเป็นเลิศทางวิชาการและขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืน!
ส่วนบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภูมิใจนำเสนอสุดยอดผลงานวิจัยแห่งปี! โดยศูนย์วิจัยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อประเทศไทยปลอดขยะ (CEWT) ภายใต้การนำของ นางพัทธยาพร อุ่นโรจน์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ด้วยผลงานที่โดดเด่นทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ความสำเร็จระดับโลก
ผลงานตีพิมพ์ระดับ SCImago Journal Rank (SJR)
Q1 จำนวน 3 เรื่อง
Proceedings of International Conference จำนวน 1 เรื่อง
Proceedings of National Conference 1 เรื่อง
Invited speaker (international event) จำนวน 6 เรื่อง
Invited speaker (national event) จำนวน 1 เรื่อง
นำเสนอผลงาน International conference จำนวน 4 เรื่อง
นำเสนอผลงาน National conference จำนวน 1 เรื่อง
ด้านทุนวิจัย
ได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัยจากการคำนวนรวมมูลค่ากว่า 2,541,842 บาท
การสร้างอิทธิพลทางวิชาการ
ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยมีหนังสือรับรอง จำนวน 1 เรื่อง
การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ 14 กิจกรรม
การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเดิม 12 กิจกรรม
ประเด็นความรู้ที่พัฒนาใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ บริการวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง
กิจกรรมที่เกิดภายใต้ MOU/MOA กับหน่วยงานต่างประเทศ จำนวน 3 กิจกรรม
Visiting researcher (international), > 15 days จำนวน 1 คน
ความภาคภูมิใจด้านบุคลากร
No. of MSc students จำนวน 3 คน
Student's award (national) จำนวน 1 รางวัล
Student's award (international) จำนวน 2 รางวัล
Staff's award (national) จำนวน 3 รางวัล
ทีมวิจัยคุณภาพ
นางพัทธยาพร อุ่นโรจน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ อึ้งวณิชยพันธ์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมฤดี นิลทอง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
อาจารย์ ดร.ขนบพร ตั้งตระกูลวนิช สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร ดำรงกุล อึ้งวณิชยพันธ์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
อาจารย์ ดร.พรรณรวี พรหมนารท สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณนิภา ดอกไม้งาม สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
อาจารย์ ดร.นพฤทธิ์ สุทธศิลป์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
อาจารย์ สิตางค์ คงกระโทก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
อาจารย์ ดร.เขมชาติ เขมาวุฒานนท์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
อาจารย์ วิทยาศักดิ์ รุจิวรกุล สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
อาจารย์ อริศรา เหล็กคำ สำนักวิชานิติศาสตร์
อาจารย์ ดร.สมรรถชัย แย้มสะอาด สำนักวิชาการจัดการ
ความสำเร็จครั้งนี้ไม่เพียงเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพงานวิจัยของ มฟล. แต่ยังช่วยสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติ พร้อมขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ!
School of Science, Mae Fah Luang University